ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน
ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล
Thailand-China Joint Laboratory for Climate and Marine Ecosystem

ยินดีต้อนรับ欢迎你

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล

ความเป็นมา

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล
(Thailand-China Joint Laboratory for Climate and Marine Ecosystem)

     ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ได้รับการจัดตั้งตามข้อตกลงเรื่องการจัดตั้งโครงการเพื่อดำเนินการปฏิบัติการวิจัยร่วมด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรไทย และทบวงกิจการมหาสมุทร (State Oceanic Administration: SOA) สาธารณรัฐประชาชนจีน (Arrangement between the Ministry of Natural Resources and Environment of the Kingdom of Thailand and the State Oceanic Administration of the People’s Republic of China on establishment of Thailand-China Joint Laboratory for Climate and Marine Ecosystem) ซึ่งได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555 ณ. กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ฯ เปิดดำเนินงาน เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556 โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน จังหวัดภูเก็ต

เรียนรู้เพิ่มเติม

โครงการ

Ocean Forecasting and Marine Disaster Mitigation System of Southeast Asia Seas

     โครงการ OFS เริ่มดำเนินงานในปี พ.ศ. 2553 และได้รับรองเป็นโครงการวิจัยภายใต้ชื่อ “Development of the Ocean Monitoring and Forecasting System for the South China Sea and Andaman Sea” ในปี พ.ศ. 2555 โดยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย กับ First Institute of Oceanography (FIO) Ministry of Natural Resources (MNR) สาธารณรัฐประชาชนจีน และเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 โครงการได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจาก China-ASEAN Maritime Cooperation Fund เพื่อพัฒนาระบบพยากรณ์สภาพแวดล้อมของมหาสมุทรในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูลพยากรณ์วัตถุประสงค์พัฒนาระบบการพยากรณ์สภาพแวดล้อมของมหาสมุทรพัฒนาวิธีการแลกเปลี่ยนการพยากรณ์สภาพแวดล้อมของมหาสมุทรในกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการพยากรณ์สภาพแวดล้อมของมหาสมุทร โดยการติดตั้งระบบ ตรวจสอบเบื้องต้นจำนวน 3-5 สถานีศึกษาวิจัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อ่าวไทย ทะเลอันดามันและพื้นที่ใกล้เคียงพัฒนาศักยภาพของนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยรุ่นเยาว์ด้านแบบจำลองการพยากรณ์มหาสมุทรประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับสามารถนำข้อมูลที่ได้รับจากระบบพยากรณ์มาวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการเตือนภัยที่จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลผลการพยากรณ์มหาสมุทรล่วงหน้า 3 วัน ครอบคลุมพื้นที่อ่าวไทยและทะเลอันดามัน บุคลากรของประเทศไทยได้พัฒนาศักยภาพด้านสมุทรศาสตร์มีความร่วมมือภายในโครงการ และเกิดเครือข่ายในระดับภูมิภาคเพื่อการป้องกันระบบนิเวศทางทะเลและภัยพิบัติ 

Coastal Vulnerability Research

    โครงการวิจัยเริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 โดยความร่วมมือระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย และ First Institute of Oceanography (FIO), Ministry of Natural Resources (MNR) สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับดินตะกอนที่ทับถมใหม่ (Modern sediment) ประเมินสภาพแวดล้อมสมัยบรรพกาล (Paleo-environment) ภูมิอากาศบรรพกาล (Paleo-climate) ในบริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอันดามัน และอ่าวไทย โดยบรูณาการผลการศึกษาจากหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งมีความสัมพันธ์กันวัตถุประสงค์สร้างระบบการตรวจสอบและเทคนิคการวิเคราะห์ความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งทะเลและพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่เกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์สร้างข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาความเสี่ยงภัยทางทะเลศึกษาแนวทางการจัดการและการเตือนภัยที่เกิดจากความเสี่ยงภัยทางทะเลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับทราบรูปแบบองค์ประกอบของตะกอนดินในแม่น้ำสายหลักบริเวณอ่าวไทยตอนบนสามารถระบุการรุกล้ำของน้ำทะเลในบริเวณอ่าวไทยตอนบนได้ทราบปัจจัยความเสี่ยงภัยทางทะเลที่สัมพันธ์กับตะกอนดินใหม่และทราบแหล่งกำเนิดของตะกอนดินสามารถวิเคราะห์การเคลื่อนย้ายตะกอนดินเพื่อสนับสนุนการศึกษาการกัดเซาะชายฝั่งบุคลากรได้พัฒนาศักยภาพด้านการจัดการชายฝั่งทะเลและธรณีวิทยาทางทะเล

Tropical Marine Ecosystem Collaborative Study

     โครงการวิจัยเริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 โดยความร่วมมือระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย และ First Institute of Oceanography (FIO), Ministry of Natural Resources (MNR) สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อศึกษาวิจัยด้านระบบนิเวศทางทะเล โดยโครงการ Tropical Marine Ecosystem Collaborative Study ประกอบด้วยโครงการย่อย ได้แก่ ระบบนิเวศทางทะเล ปะการัง การศึกษาทางพันธุกรรมและสัตว์ทะเลหายาก ต่อมาโครงการย่อยสัตว์ทะเลหายากได้รับการพัฒนาเป็นโครงการศึกษาสัตว์ทะเลหายาก หลังจากที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน China–ASEAN Maritime Cooperation Fund ปัจจุบันมีโครงการวิจัยย่อยภายใต้โครงการทั้งสิ้น 5 โครงการ

Integrated Observation and Evaluation of Tropical Marine Environment

This sub-project was conducted since 2015 as a collaborative project between the Department of Mineral Resources, the Ministry of Natural Resources and Environment, the Third Institute of Oceanography (TIO), and the Island Research Center (IRC) under the Ministry of Natural Resources (MNR), People's Republic of China. The project aims to investigate various processes happening on the tropical sandy beaches that are related to coastal morphodynamics. It also involves identifying different patterns of coastal geomorphological changes as a result of geological and anthropogenic activities and classifying coastal land use based on geo-oceanography, in order to improve a plan on coastal management and planning.

Monsoon Onset Monitoring and Its Social and Ecosystem Impact

     โครงการวิจัยนี้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 โดยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย และ First Institute of Oceanography (FIO), Ministry of Natural Resources (MNR) สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงช่วงการเข้าสู่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้การเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนการแปรผันระหว่างปี โดยใช้ทุ่นสำรวจทางสมุทรศาสตร์ที่ติดตั้งในทะเลอันดามันวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสังเกตการณ์มหาสมุทรในระดับภูมิภาคเพื่อศึกษาความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงเพื่อทำความเข้าใจกระบวนการทางสมุทรศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมรสุมและอิทธิพลต่อระบบนิเวศทางทะเลศึกษาแนวทางการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในภาคสังคมและระบบนิเวศประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับมีฐานความรู้วงจรการเกิดลมมรสุม การเกิดปะการังฟอกขาว การจัดการชายฝั่งมีความเข้าใจในกระบวนการด้านสมุทรศาสตร์ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลมมรสุมและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อระบบนิเวศทางทะเลศูนย์การเผยแพร่ความรู้และข้อมูลในระดับภูมิภาค

UNESCO-IOC Regional Training and Research Center on Ocean Dynamic and Climate

     The Intergovernmental Oceanographic Commission of the United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO/IOC) Regional Training and Research Center (RTRC) on Ocean Dynamics and Climate (ODC) ก่อตั้งอย่างเป็นทางการภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง IOC และ First Institute of Oceanography (FIO) สาธารณรัฐประชาชนจีน ในระหว่างการประชุม Intergovernmental Session of UNESCO/IOC Sub-Commission for the Western Pacific (WESTPAC-VIII) ครั้งที่ 8 ที่เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 โดย ODC เป็นศูนย์ฝึกอบรมระดับภูมิภาคแห่งแรกของ UNESCO/IOC โดยภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย และ First Institute of Oceanography (FIO) Ministry of Natural Resources (MNR) สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งนักวิจัยจากประเทศไทยได้รับการสนับสนุนให้เข้าร่วมอบรมอย่างต่อเนื่องวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในการศึกษาด้านสมุทรศาตร์ศาสตร์และภูมิอากาศเพื่อเพิ่มศักยภาพเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้แบบจำลองมหาสมุทรและภูมิอากาศเพื่อการพัฒนาระบบพยากรณ์สมุทรศาสตร์ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการศึกษาด้านสมุทรศาสตร์และ ภูมิอากาศมีการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้เชี่ยวชาญและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ในการแบ่งปันแนวคิดและมุมมองทางวิทยาศาสตร์

Ecosystem Management Network for Marine and Coastal Areas

     โครงการวิจัยเริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 ชื่อเดิม Ecological Management Networks for Marine Protected Areas โดยความร่วมมือระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย และ Third Institute of Oceanography (TIO) Ministry of Natural Resources (MNR) สาธารณรัฐประชาชนจีน และปรับเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อปัจจุบันในปี พ.ศ. 2562 โดยเกิดจากความสำคัญในการนำองค์ความรู้ทางวิชาการมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน โดยใช้กลไกของพื้นที่คุ้มครองทางทะเลเพื่อพัฒนากลไกหรือวิธีการในการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน

Marine Endangered Species Research

     โครงการวิจัยดำเนินการโดยความร่วมมือระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย และ First institute of Oceanography (FIO) State Oceanic Administration (SOA) สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีสถานะเป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการ Tropical Marine Ecosystem Collaborative Study (TiME) ระหว่างปี พ.ศ. 2555 - 2558   ก่อนที่จะได้รับการสนับสนุนให้เป็นโครงการหลักในปี พ.ศ. 2559 เมื่อได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจาก China-ASEAN Maritime Cooperation Fund โดยมุ่งเน้นในการเสริมสร้างศักยภาพในการศึกษาสถานภาพสัตว์ทะเลหายาก และแหล่งที่อยู่อาศัย ครอบคลุมกลุ่มประชากรสัตว์ทะเลหายากที่สำคัญในประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาสนับสนุน กิจกรรมภายใต้โครงการ เช่น การศึกษาประชากรโลมาที่เกาะไม้ท่อนโดย UAV การศึกษาโลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลา การศึกษาวาฬบรูด้าในอ่าวไทย การศึกษาพะยูนและโลมาชายฝั่งในจังหวัดตรัง การศึกษาโลมาหลังโหนกในอ่าวขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิเคราะห์พันธุกรรมและการปนเปื้อนของโลหะหนักการอพยพของเต่าทะเล การฝึกอบรมเพื่อช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายาก และการพัฒนาฐานข้อมูลสัตว์ทะเลหายากระดับภูมิภาค เป็นต้นวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางชีววิทยาและระบบนิเวศของสัตว์ทะเลหายาก โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านสัตว์ทะเลหายาก พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายากการปรับปรุงข้อมูลสถานภาพสัตว์ทะเลหายาก และการประเมินแหล่งที่อยู่อาศัย วิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใกล้สูญพันธุ์ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับมีองค์ความรู้ด้านการจัดการสัตว์ทะเลหายากในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียนมีแนวทางมาตรฐานการดำเนินงานเกี่ยวกับสัตว์ทะเลหายาก ด้วยการผนวกรวมเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพิ่มเติม และให้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการจัดการพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและศูนย์ช่วยเหลือสำหรับสัตว์ทะเลหายากบุคลากรงานด้านสัตว์ทะเลหายากได้รับการพัฒนาศักยภาพมีความร่วมมือที่ดีของเครือข่ายในการบริหารจัดการสัตว์ทะเลหายาก

Marine Spatial Planning Collaborative Study

     โครงการวิจัยดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ประเทศไทย และ First Institute of Oceanography (FIO) Ministry of Natural Resources (MNR) สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการวางแผนเชิงพื้นที่ทางทะเลในประเทศไทย โดยมีพื้นที่ศึกษานำร่องที่เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย ทั้งนี้ แรกเริ่มได้ดำเนินงานภายใต้โครงการ Ecological Management Networks for Marine Protected Areas (EMPA) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 และได้รับการเห็นชอบให้เป็นโครงการวิจัยหลักในปี พ.ศ. 2562 ปัจจุบันได้ขยายพื้นที่ศึกษาไปยังเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ประเทศไทยวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเชิงพื้นที่ในการจัดการทรัพยากรทางทะเลเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและมาตรการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับมีแนวทางการดำเนินงานการวางแผนจัดการเชิงพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งในประเทศไทยการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทยมีประสิทธิภาพดีขึ้นบุคลากรด้านการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้รับการพัฒนาศักยภาพมีความร่วมมือที่ดีในการดำเนินงานวิจัยด้านทะเลระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน

ข่าวและกิจกรรม

see more +

ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยีการสำรวจ

วันที่ 16-19 ธันวาคม 2567 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน ร่วมกับสถาบันสมุทรศาสตร์ที่ 1 สาธารณรัฐประชาชนจีน และศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "การศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยีการสำรวจ" โดยมีผู้เข้าร่วมจากสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และนักวิจัยจากสถาบันการศึกษา ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และผู้เชี่ยวชาญจาก First Institute of Oceanography, Ocean University of China และ Shanghai Jiao Tong University ร่วมในการบรรยาย ถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้ พร้อมแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะในระหว่างการฝึกอบรม นอกจากนี้ ได้มีการฝึกปฏิบัติการเตรียมเครื่องมือสำรวจทางสมุทรศาสตร์ในทะเลลึก เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ในงานสำรวจทางทะเล โดยองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้ จะได้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาวิจัยทางทะเลของประเทศไทย ต่อไป

กิจกรรม

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล วางทุ่นสำรวจทางสมุทรศาสตร์ และอุตุนิยมวิทยาในทะเลอันดามัน

     วันที่ 7-10 ธันวาคม 2567 ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล และศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ร่วมกับสถาบันสมุทรศาสตร์ที่ 1 สาธารณรัฐประชาชนจีน ในการปฏิบัติงานทางทะเล โดยเรือสำรวจวิจัยจักรทอง ทองใหญ่ เพื่อวางทุ่นสำรวจทางสมุทรศาสตร์ และอุตุนิยมวิทยาในทะเลอันดามัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสมุทรศาสตร์ อุตุนิยมวิทยาในทะเล และติดตามคลื่นใต้น้ำในฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยงานสำรวจวิจัยนี้ดำเนินการภายใต้โครงการ Monsoon Onset Monitoring and Its Social and Ecosystem Impact (MOMSEI) พร้อมกันนี้ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างไมโครพลาสติกในน้ำทะเล และสำรวจขยะทะเลนอกฝั่ง และในระหว่างปฏิบัติงาน พบโลมาจำนวน 3 ฝูง บริเวณทางใต้ของหมู่เกาะสิมิลัน ห่างประมาณ 30 ไมล์ทะเล โดยเป็นโลมาปากขวด โลมากระโดด และไม่ทราบชนิด 

กิจกรรม

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ร่วมดำเนินการสำรวจสภาวะพร่องออกซิเจนในน้ำทะเล บริเวณอ่าวไทยตอนใน

     วันที่ 25 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม 2567 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน และศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ร่วมกับนักวิจัยจาก First Institute of Oceanography (FIO), ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินคร์ วิทยาเขตภูเก็ต ดำเนินการศึกษาวิจัยสภาวะพร่องออกซิเจนในน้ำทะเล การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในน้ำทะเลและดินตะกอนพื้นที่อ่าวไทยตอนใน ภายใต้โครงการความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างไทย-จีน ฯ และโครงการศึกษาผลกระทบจากกิจกรรมมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการสูญเสียออกซิเจนละลายในน้ำทะเลชายฝั่งอ่าวไทย เพื่อสนับสนุนโปรแกรม Coastal-SOS ภายใต้การสนับสนุนของสหประชาชาติเพื่อการเข้าสู่ศตวรรษแห่งสมุทรศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2564-2573 งบประมาณจาก สกสว. โดยตรวจวัดปัจจัยทางสมุทรศาสตร์ เก็บตะกอนดิน สัตว์หน้าดิน ตัวอย่างน้ำทะเล และแพลงก์ตอนพืช รวมจำนวน 62 สถานี จากการสำรวจพบปัจจัยคุณภาพน้ำทะเลพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ฯ (กรมควบคุมมลพิษ, 2564) โดยตัวอย่างที่ได้จะนำไปวิเคราะห์ และประมวลผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยต่อไป

กิจกรรม

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ฯ จัดกิจกรรมอบรม COMMUNITY SERVICES OF MANGROVENSERVATION PROGRAM : MANGROVE CULTIVATION TRAINING

     ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลน โดยส่วนประสานความร่วมมือและนวัตกรรม และศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 3 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้กับนักเรียนและชุมชนชายฝั่งในพื้นที่ จังหวัดพังงา จำนวน 60 ราย ในระหว่างวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2567 โดยกิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายให้ความรู้ กิจกรรมปลูกป่า กิจกรรมเก็บขยะ กิจกรรมสำรวจชุมชน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน มีจิตสำนึกที่ดี และตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน และส่งเสริมให้ชุมชนชายฝั่งเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรป่าชายเลน นับเป็นก้าวแรกในการประสานความร่วมมือไทย-จีน ในงานด้านส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน 

กิจกรรม