ข่าวและกิจกรรม

ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยีการสำรวจ

วันที่ 16-19 ธันวาคม 2567 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน ร่วมกับสถาบันสมุทรศาสตร์ที่ 1 สาธารณรัฐประชาชนจีน และศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "การศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยีการสำรวจ" โดยมีผู้เข้าร่วมจากสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และนักวิจัยจากสถาบันการศึกษา ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และผู้เชี่ยวชาญจาก First Institute of Oceanography, Ocean University of China และ Shanghai Jiao Tong University ร่วมในการบรรยาย ถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้ พร้อมแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะในระหว่างการฝึกอบรม นอกจากนี้ ได้มีการฝึกปฏิบัติการเตรียมเครื่องมือสำรวจทางสมุทรศาสตร์ในทะเลลึก เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ในงานสำรวจทางทะเล โดยองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้ จะได้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาวิจัยทางทะเลของประเทศไทย ต่อไป

กิจกรรม

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล วางทุ่นสำรวจทางสมุทรศาสตร์ และอุตุนิยมวิทยาในทะเลอันดามัน

     วันที่ 7-10 ธันวาคม 2567 ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล และศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ร่วมกับสถาบันสมุทรศาสตร์ที่ 1 สาธารณรัฐประชาชนจีน ในการปฏิบัติงานทางทะเล โดยเรือสำรวจวิจัยจักรทอง ทองใหญ่ เพื่อวางทุ่นสำรวจทางสมุทรศาสตร์ และอุตุนิยมวิทยาในทะเลอันดามัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสมุทรศาสตร์ อุตุนิยมวิทยาในทะเล และติดตามคลื่นใต้น้ำในฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยงานสำรวจวิจัยนี้ดำเนินการภายใต้โครงการ Monsoon Onset Monitoring and Its Social and Ecosystem Impact (MOMSEI) พร้อมกันนี้ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างไมโครพลาสติกในน้ำทะเล และสำรวจขยะทะเลนอกฝั่ง และในระหว่างปฏิบัติงาน พบโลมาจำนวน 3 ฝูง บริเวณทางใต้ของหมู่เกาะสิมิลัน ห่างประมาณ 30 ไมล์ทะเล โดยเป็นโลมาปากขวด โลมากระโดด และไม่ทราบชนิด 

กิจกรรม

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ร่วมดำเนินการสำรวจสภาวะพร่องออกซิเจนในน้ำทะเล บริเวณอ่าวไทยตอนใน

     วันที่ 25 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม 2567 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน และศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ร่วมกับนักวิจัยจาก First Institute of Oceanography (FIO), ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินคร์ วิทยาเขตภูเก็ต ดำเนินการศึกษาวิจัยสภาวะพร่องออกซิเจนในน้ำทะเล การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในน้ำทะเลและดินตะกอนพื้นที่อ่าวไทยตอนใน ภายใต้โครงการความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างไทย-จีน ฯ และโครงการศึกษาผลกระทบจากกิจกรรมมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการสูญเสียออกซิเจนละลายในน้ำทะเลชายฝั่งอ่าวไทย เพื่อสนับสนุนโปรแกรม Coastal-SOS ภายใต้การสนับสนุนของสหประชาชาติเพื่อการเข้าสู่ศตวรรษแห่งสมุทรศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2564-2573 งบประมาณจาก สกสว. โดยตรวจวัดปัจจัยทางสมุทรศาสตร์ เก็บตะกอนดิน สัตว์หน้าดิน ตัวอย่างน้ำทะเล และแพลงก์ตอนพืช รวมจำนวน 62 สถานี จากการสำรวจพบปัจจัยคุณภาพน้ำทะเลพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ฯ (กรมควบคุมมลพิษ, 2564) โดยตัวอย่างที่ได้จะนำไปวิเคราะห์ และประมวลผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยต่อไป

กิจกรรม

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ฯ จัดกิจกรรมอบรม COMMUNITY SERVICES OF MANGROVENSERVATION PROGRAM : MANGROVE CULTIVATION TRAINING

     ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลน โดยส่วนประสานความร่วมมือและนวัตกรรม และศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 3 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้กับนักเรียนและชุมชนชายฝั่งในพื้นที่ จังหวัดพังงา จำนวน 60 ราย ในระหว่างวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2567 โดยกิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายให้ความรู้ กิจกรรมปลูกป่า กิจกรรมเก็บขยะ กิจกรรมสำรวจชุมชน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน มีจิตสำนึกที่ดี และตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน และส่งเสริมให้ชุมชนชายฝั่งเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรป่าชายเลน นับเป็นก้าวแรกในการประสานความร่วมมือไทย-จีน ในงานด้านส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน 

กิจกรรม

การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่เลขานุการในศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล

    ด้วยศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล สังกัดศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ประสงค์จะรับสมัครบุคคลเพื่อจัดจ้างเป็นเจ้าหน้าที่จ้างเหมาตำแหน่ง เลขานุการ ดังนั้น จึงประกาศรับสมัครคัดเลือกบุคคลของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีนฯ โดยมีรายละเอียดดังเอกสารแนบ

ทั่วไป

การประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยี ครั้งที่ 13 และการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ครั้งที่ 12

     กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยี ครั้งที่ 13 และการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 2 - 6 กันยายน พ.ศ. 2567 ในคราวประชุมระหว่างประเทศภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล โดยมีนางสุมนา ขจรวัฒนากุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นประธานร่วมฝ่ายไทย Prof. Fangli Qiao Deputy Director-General, First Institute of Oceanography (FIO) เป็นประธานร่วมฝ่ายจีน ประกอบไปด้วย คณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ฯ ทั้งสองฝ่าย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้รับผิดชอบโครงการวิจัยร่วม มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 90 คน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าในการดำเนินงานของกิจกรรมต่าง ๆ ประจำปี พ.ศ. 2567 และแผนการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2568 ของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล และนำเสนอความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานของโครงการวิจัยร่วม ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล ซึ่งได้มีการระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาแนวทางความร่วมมือในอนาคตต่อไป

ประชุม

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง นิเวศบริการและการใช้ประโยชน์พื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง สำหรับชุมชนท้องถิ่น บริเวณหมู่เกาะมัน จ.ระยอง

     วันที่ 20 สิงหาคม 2567 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก (ศวทอ.) ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง นิเวศบริการและการใช้ประโยชน์พื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง สำหรับชุมชนท้องถิ่น บริเวณหมู่เกาะมัน จ.ระยอง ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลปากน้ำประแส อ.แกลง จ.ระยอง โดยมี นายสุเทพ เจือละออง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก เปิดการประชุม และนายวรรณเกียรติ ทับทิมแสง ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการจัดการทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเล กล่าวถึงความเป็นมาในการจัดการประชุม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 51 คน ประกอบด้วย ผู้แทนประมงพื้นบ้าน ผู้แทนผู้ประกอบการท่องเที่ยว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาลตำบลปากน้ำประแส เทศบาลตำบลเนินฆ้อ และเทศบาลตำบลสุนทรภู่ ผู้แทนหน่วยงานราชการ ได้แก่ กรมประมง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยรายละเอียดการประชุมเป็นการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่สำคัญบริเวณหมู่เกาะมัน จ.ระยอง การดำเนินงานประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการใช้ประโยชน์ในพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง นอกจากนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อร่วมหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืนต่อไป

ประชุม

การประชุมหารือความร่วมมือไทย-จีน ด้านทะเล ระหว่างกรมทรัพยากรธรณีและสถาบันสมุทรศาสตร์แห่งที่สาม ณ เมืองเซี่ยเหมิน สาธารณรัฐประชาชนจีน

    คณะผู้แทนกรมทรัพยากรธรณี (DMR) นำโดยนายนิมิตร ศรคลัง ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีธรณี เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ฯ เข้าร่วมการประชุมหารือโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง ไทย-จีน ด้านทะเล กับคณะผู้แทนสถาบันสมุทรศาสตร์แห่งที่สาม (TIO) และเข้าพบ Prof. Dr. Cai Feng อธิบดีสถาบันสมุทรศาสตร์แห่งที่สาม โดยมี Prof. Dr. Qi Hongshuai เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ฯ ระหว่างวันที่ 28 - 31 กรกฎาคม 2567 ณ เมืองเซี่ยเหมิน สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อหารือความก้าวหน้าของโครงการวิจัยร่วม “Integrated Observation and Evaluation of Tropical Marine Environment” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเทคโนโลยีและการพัฒนา รวมถึงข้อมูลวิชาการด้านเทคโนโลยีการสำรวจธรณีฟิสิกส์ทางทะเล เพื่อประยุกต์ใช้ในการสำรวจธรณีวิทยา เพิ่มขีดความสามารถทางวิชาการ และแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันกิจกรรมหลักของคณะผู้แทนกรมทรัพยากรธรณี1. ศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม1.1 ชายหาดบริเวณ music square ซึ่งประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยวิธีเติมทรายหรือกรวด1.2 พื้นที่ชุ่มน้ำสำหรับโครงการ blue carbon ได้แก่ Xiamen Xiatanwei Mangrove Park1.3 Yundang Wai Lake และ Swan Lake ทะเลสาบน้ำจืดที่พัฒนาตามแนวคิดสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ2. การนำเสนอผลงานวิชาการด้านธรณีวิทยาทางทะเล2.1 คณะผู้แทนกรมทรัพยากรธรณี จำนวน 4 เรื่อง2.2 คณะผู้แทนสถาบันสมุทรศาสตร์แห่งที่สาม จำนวน 4 เรื่อง3. การประชุมหารือ3.1 คณะผู้แทนกรมทรัพยากรธรณีและคณะผู้แทนสถาบันสมุทรศาสตร์แห่งที่สาม ร่วมหารือแนวทางดำเนินงานโครงการวิจัยร่วมฯ ภายใต้แผนย่อย “Coastal morpho-dynamics process responding to ecosystem change”3.2 คณะผู้แทนกรมทรัพยากรธรณีและคณะผู้แทนสถาบันสมุทรศาสตร์แห่งที่สาม ร่วมลงนามในบันทึกการหารือ (Record of Discussion) ภายใต้โครงการวิจัยร่วมฯ ณ ห้องประชุมสถาบันสมุทรศาสตร์แห่งที่สาม เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานร่วมกันในอนาคต

ประชุม

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ฯ สนับสนุนงบจัดกิจกรรมโครงการจัดกิจกรรมจิตอาสาทางทะเล (Blue Citizen) เพื่อเฉลิมฉลองวันมหาสมุทรโลก (World Ocean Day) และการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy)

     วันที่ 25 มิถุนายน 2567 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก โดยการสนับสนุนงบประมาณจากศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศ และระบบนิเวศทางทะเล ได้จัดกิจกรรมทำความสะอาดชายหาด โครงการจัดกิจกรรมจิตอาสาทางทะเล (Blue Citizen) เพื่อเฉลิมฉลองวันมหาสมุทรโลก (World Ocean Day) และการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy) ณ หาดบานชื่น ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด โดยมี นายสุรศักดิ์ อินทรประเสริฐ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไม้รูดเป็นประธาน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 200 คน ได้แก่ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลไม้รูด เจ้าหน้าที่ศูนย์จัดการพื้นที่คุ้มครองหมู่เกาะมัน จังหวัดระยอง ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลจังหวัดตราด มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วงโสม ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จังหวัดตราด สถานีตำรวจภูธรไม้รูด หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินตราด เครือข่ายภาคประชาชน คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านไม้รูด โรงเรียนบ้านคลองมะนาว โรงเรียนบ้านหนองม่วง และโรงเรียนวัดห้วงโสม ขยะที่เก็บได้ทั้งหมด 310 กิโลกรัม และได้สอนวิธีการคัดแยกขยะ ชั่งน้ำหนัก และจดบันทึกข้อมูลตามแบบฟอร์ม ICC card โดยชนิดขยะที่พบมากบริเวณหาดบานชื่น ได้แก่ เศษถุงพลาสติก แก้วน้ำพลาสติก เศษโฟม และขวดแก้ว นอกจากนี้ได้ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนในพื้นที่ตระหนักถึงผลกระทบของขยะทะเล และทิ้งขยะให้ถูกที่ รวมทั้งคัดแยกขยะก่อนทิ้ง เพื่อลดปริมาณขยะที่จะออกสู่ทะเลต่อไป  

กิจกรรม

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ฯ จัดประชุมเพื่อหารือแนวทางการจัดเตรียมข้อมูลสนับสนุนแบบจำลองการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมัน ภายใต้โครงการวิจัยร่วมย่อย Application of Ocean Forecasting System for Oil Spill modelling

     ระหว่างวันที่ 25 - 26  มิถุนายน 2567 ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศ และระบบนิเวศทางทะเล จัดประชุมเพื่อหารือแนวทางการจัดเตรียมข้อมูลสนับสนุนแบบจำลองการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมัน ภายใต้โครงการวิจัยร่วมย่อย Application of Ocean Forecasting System for Oil Spill modelling โดย Dr. Chang Zhao จาก First Institute of Oceanography (FIO) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้ประสานงานโครงการฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมหารือกับ ดร. วิลาวัลย์ ธเนศมณีรัตน์ จากกรมควบคุมมลพิษ ผู้ประสานงานโครงการฝ่ายไทย ณ ห้องประชุมอาคารบุญเลิศ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน

ประชุม

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศ และระบบนิเวศทางทะเล จัดฝึกอบรมการใช้อากาศยานไร้คนขับแบบปีกตรึงขึ้นลงแนวดิ่ง (Vertical take-off and landing Unmanned Aerial Vehicle; VTOL UAV)

     ระหว่างวันที่ 10 - 14 มิถุนายน 2567 ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศ และระบบนิเวศทางทะเล ร่วมกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน (ศวทบ.) จัดฝึกอบรม “โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้อากาศยานไร้คนขับแบบปีกตรึงขึ้นลงแนวดิ่ง (Vertical take-off and landing Unmanned Aerial Vehicle; VTOL UAV) ในการสำรวจสัตว์ทะเลหายากและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง” ภายใต้โครงการวิจัยร่วม Marine Endangered Species Researches (MESR) โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล โดยมีวิทยากรบรรยายพร้อมฝึกปฏิบัติภาคสนามจากบริษัท ซิสทรอนิกส์ จำกัด และมีผู้เข้าร่วมอบรมฯ จากศูนย์วิจัยฯ ทั้ง 6 แห่ง จำนวน 26 คน อันเป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีในการสำรวจและประเมินสถานภาพทรัพยากร ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่มีอยู่เดิมให้เป็นปัจจุบันและมีคุณภาพมากขึ้น

สัมมนา

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยี (ฝ่ายไทย)

     วันที่ 13 - 15 พฤษภาคม 2567 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยี (ฝ่ายไทย) โดย ดร. ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นประธาน ณ โรงแรมเบสท์เวสเทิร์น นาดา ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ โดยการสัมมนาฯ ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการดำเนินงานทางวิชาการของความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล โดยผู้เข้าร่วมการสัมมนาฯ ประกอบไปด้วยคณะทำงานโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการศูนย์ นักวิจัยของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผู้แทนและนักวิจัยจากหน่วยราชการและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งนี้ มีการระดมความคิดเห็น และให้ข้อแนะนำในการพัฒนาโครงการวิจัยในสาขาต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลประโยชน์ต่องานวิจัยและการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลต่อไป

สัมมนา

เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีน ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล ครั้งที่ 7

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 สถาบันสมุทรศาสตร์ที่หนึ่งเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีน ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล ครั้งที่ 7 (the 7th Joint Committee meeting of Thailand-China Joint Laboratory for Climate and Marine Ecosystem: SCM-11) ณ เมืองเซี่ยเหมิน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีประธานร่วมในงานประชุม ได้แก่  Ms. Chen Danhong Director General ของ the Department of International Cooperation กระทรวงทรัพยากรธรรมาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน และนางชญานันท์ ภักดีจิตต์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย โดยได้รับทราบผลการดำเนินงานการปฏิบัติงานวิจัยภายใต้กรอบความร่วมมือไทย-จีน ด้านทะเล นอกจากนี้ ยังได้รับทราบข้อเสนอโครงการย่อยใหม่ ซึ่งเห็นชอบโดยคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ในการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ครั้งที่ 11

ประชุม

เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ครั้งที่ 11

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 สถาบันสมุทรศาสตร์ที่หนึ่งเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ครั้งที่ 11 (the 11th Steering Committee meeting of Thailand-China Joint Laboratory for Climate and Marine Ecosystem: SCM-11) ณ เมืองเซี่ยเหมิน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีประธานร่วมในงานประชุม ได้แก่ Ms. Yu Xinwei Deputy Division Director ของ the Department of International Cooperation กระทรวงทรัพยากรธรรมาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน และนางสุมนา ขจรวัฒนากุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย การประชุมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานวิจัยภายใต้กรอบความร่วมมือไทย-จีน ด้านทะเล รวมถึงเพื่อพัฒนาความร่วมมือในการดำเนินงานวิจัยด้านทะเลเพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและการดำเนินการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ประชุม

เผยแพร่ผลผลิตจากข้อมูลดาวเทียมภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน

ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างไทยและจีนในการวิจัยสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมฯ ได้รับสิทธิในการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ข้อมูลจากดาวเทียมจาก First Institute of Oceanography (FIO) สาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับผู้ที่สนใจนำข้อมูลไปใช้โปรดดูรายละเอียดดังต่อไปนี้Time coverage : January 2013 - December 2022Description : The analysis data were produced based on the OI (optimal interpolation) algorithm, data fusion was performed using GMI (Global Precipitation Measurement Microwave Imager), WindSat, AMSR2 (Advanced Microwave Scanning Radiometer 2), SSMI, ASCAT, HY-2 and NCEP remote sensing observations to generate the 6h/0.1° wind fusion data. All data are formatted as NetCDF, which includes datasets of wind, grid information of latitude and longitude (grid number 452 x 800). The data record four sets of data fields: longitude (lon), latitude (lat), U and V component of the wind. The data record of the U and V component of wind has four attributes. Long time series remote sensing data products will continue to be generated and released to the public.Variables : wind, significant wave height, surface current, sea surface temperature, sea surface salinity, and chlorophyll-a concentration. Spatial coverage : The longitude covers a range of 70.05°E~149.95°E. The latitude spans a range of 20.05°S~25.05°N. Data provider : First Institute of Oceanography of Ministry of Natural Resources.Format : NetCDFCitation : Sun, W., Wang, J., Zhang, J.  (2018) A new global gridded sea surface temperature product constructed from infrared and microwave radiometer data using the optimum interpolation method. Acta Oceanol. Sin. 37, 41–49 (2018). https://doi.org/10.1007/s13131-018-1206-4 Xiao, Y., Zhang, J., Cui, T. A new merged dataset of global ocean chlorophyll a concentration with higher spatial and temporal coverage. Acta Oceanol. Sin. 37, 118–130 (2018). https://doi.org/10.1007/s13131-018-1249-6Qiushuang Yan, Jie Zhang, Junmin Meng, Jing Wang & Chenqing Fan (2017) Use of an optimum interpolation method to construct a high-resolution global ocean surface vector wind dataset from active scatterometers and passive radiometers, International Journal of Remote Sensing, 38:20, 5569-5591, DOI: 10.1080/01431161.2017.1341665Contact: to request the data, please contact dic.thch@dmcr.mail.go.th with cc to pmbc.ocean@gmail.com Attached files : Product description and Application_form

ทั่วไป

ฉลองครบรอบ 10 ปี ก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน เพื่อสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน เพื่อสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเลร่วมฉลองในวาระครบรอบ 10 ปี ของการก่อตั้งที่โรงแรม Xiamen Tianyuan Grand Hotel เมืองเซียะเหมิน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีประธานร่วม ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย ในระหว่างพิธีการ Mr. Xu Dachun จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน และคุณชญานันท์ ภักดีจิตต์ จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย ได้กล่าวร่วมแสดงความยินดีศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ได้รับการจัดตั้งตามข้อตกลงเรื่องการจัดตั้งโครงการเพื่อดำเนินการปฏิบัติการวิจัยร่วมด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรไทย และทบวงกิจการมหาสมุทร (State Oceanic Administration: SOA) สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555 ณ. กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ฯ เปิดดำเนินงาน เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556 โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน จังหวัดภูเก็ต

ประชุม

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) ในการสำรวจทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

     ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ร่วมกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicel; UAV) ในการสำรวจทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระหว่างวันที่ 29 - 31 มีนาคม 2566 ณ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน จังหวัดภูเก็ต โดยมีนายสุรพงษ์ บรรจงมณี นักวิชาการประมงชำนาญการ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมฯ ในวันที่ 29 มีนาคม 2566 และได้รับเกียรติจาก รศ.ดร. วีระพงศ์ เกิดสิน คณบดีฯ และเจ้าหน้าที่ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เป็นวิทยากรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ฯ ในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยต่าง ๆ ซึ่งจะได้รับการพัฒนาศักยภาพ การใช้อากาศยานไร้คนขับในการสำรวจทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตามภารกิจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งต่อไป

กิจกรรม

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเล ระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล (ฝ่ายไทย)

วันที่ 9 มีนาคม 2566 ดร.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (รอง อทช.) เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเล ระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล (ฝ่ายไทย) โดยมีนางสุมนา ขจรวัฒนากุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการศูนย์ นักวิจัย และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมฯ ตลอดจน คณะทำงานโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล ผู้แทนและนักวิจัยจากหน่วยงานราชการ และสถาบันการศึกษาที่ดำเนินงานด้านทะเล เข้าร่วมสัมมนา ณ โรงแรมพักพิง อิงทาง บูติค โฮเทล (ชั้น 6) จังหวัดนนทบุรี ในระหว่างวันที่ 8 - 10 มีนาคม 2566การสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ กรม ทช. จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และข้อแนะนำ จากหน่วยงานทางวิชาการต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่ดำเนินงานทางด้านทะเล อีกทั้งให้นำเสนอผลงานและความก้าวหน้าในการดำเนินงานของโครงการวิจัยร่วม ที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน เพื่อให้นักวิจัยฝ่ายไทยมีความพร้อมในการดำเนินงานตามโครงการวิจัยต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลประโยชน์ต่อการบริหารจัดการทะเลไทย ต่อไป

สัมมนา

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศ และระบบนิเวศทางทะเล สำรวจสภาวะพร่องออกซิเจนในน้ำ และเก็บข้อมูลปัจจัยทางสมุทรศาสตร์เคมีธรณีครอบคลุมพื้นที่อ่าวไทยตอนใน

วันที่ 14-21 พฤศจิกายน 2565 ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศ และระบบนิเวศทางทะเล ร่วมกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก และศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ออกสำรวจสภาวะพร่องออกซิเจนในน้ำ และเก็บข้อมูลปัจจัยทางสมุทรศาสตร์เคมีธรณีครอบคลุมพื้นที่อ่าวไทยตอนใน จำนวน 57 สถานี ภายใต้งบประมาณโครงการความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล โดยเรือสำรวจเกษตรศาสตร์ 1 ของคณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ เพื่อศึกษาการเกิดสภาวะพร่องออกซิเจนในน้ำทะเลพื้นที่อ่าวไทยตอนใน สำหรับเป็นข้อมูลในการติดตามเฝ้าระวัง และหาแนวทางป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

กิจกรรม

การประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ครั้งที่ 10 (SCM-10)

วันที่ 13 กันยายน 2565 กรม ทช. โดยสถาบันวิจัย ทช. เป็นประธานร่วมกับ Prof. Qiao Fangli  จาก First Institute of Oceanography (FIO) สาธารณรัฐประชาชนจีน ในการประชุมระหว่างประเทศ ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล เรื่อง การประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ครั้งที่ 10 (SCM-10) ผ่านการประชุมแบบ Hybrid ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 40 คน ทั้งนี้ เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล รวมถึงเพื่อพัฒนาความร่วมมือในการดำเนินงานวิจัยด้านทะเลของประเทศไทย นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและการดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ประชุม

การประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ครั้งที่ 10

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล จัดประชุมคณะทำงานโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 กรม ทช. โดยรองอธิบดีพรศรี  สุทธนารักษ์ เป็นประธานการประชุม โดยมีคณะผู้บริหารกรม ทช. และคณะทำงาน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม บีบี 206 ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ในที่ประชุมมีวาระเพื่อทราบคำสั่งคณะกรรมการร่วมฝ่ายไทยตามบันทึกความเข้าใจฯ ว่าด้วยความร่วมมือทางด้านทะเล เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล พร้อมทั้งได้สรุปผลการดำเนินงานของโครงการ ความร่วมมือฯ และความก้าวหน้าในการดำเนินงานของโครงการความร่วมมือฯ พร้อมทั้งพิจารณาการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ครั้งที่ 10

ประชุม

การประชุม China-Southeast Asian Countries Marine Cooperation Forum ครั้งที่ 7

การประชุม China-Southeast Asian Countries Marine Cooperation Forum ครั้งที่ 7 จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 26–27 ตุลาคม 2564 ณ เมือง Beihai สาธารณรัฐประชาชนจีน ในรูปแบบ Hybrid โดยการ ประชุมดังกล่าวจัดโดย First Institute of Oceanography และ Fourth Institute of Oceanography, Ministry of Natural Resources, China โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นเจ้าภาพร่วม สาระการ ประชุม ประกอบด้วยOpening ceremony (วันที่ 26 ตุลาคม 2564)กล่าวเปิดการประชุมโดย Dr. Hong Wang รองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน และ ดร. พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวใน ฐานะผู้จัดร่วมPlenary Session (วันที่ 26 ตุลาคม 2564)ประกอบด้วยผู้บรรยายที่ได้รับเชิญ จำนวน 6 ท่าน โดยนางสุมนา ขจรวัฒนากุล ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวบรรยายในหัวข้อ “Challenges in marine and coastal resources management in Thailand”Parallel Session จำนวน 4 สาขา (วันที่ 26–27 ตุลาคม 2564)Ocean and Climate Monitoring, Forecasting and Servicesประกอบด้วยผู้นำเสนอผลงานวิจัย จำนวน 11 เรื่อง โดยนักวิจัยจากประเทศไทย นำเสนอ ผลงานวิจัย จำนวน 2 เรื่องMarine Biodiversity and Ecosystem Protectionประกอบด้วยผู้นำเสนอผลงานวิจัย จำนวน 15 เรื่อง โดยนักวิจัยจากประเทศไทย นำเสนอ ผลงานวิจัย จำนวน 5 เรื่องMarine Geological Process and Disaster Reductionsประกอบด้วยผู้นำเสนอผลงานวิจัย จำนวน 14 เรื่อง โดยนักวิจัยจากประเทศไทย นำเสนอ ผลงานวิจัย จำนวน 1 เรื่อง และนักวิชาการจากกรมทรัพยากรธรณี ได้เข้าร่วมประชุมในสาขานี้Ocean Policy and Ocean Managementประกอบด้วยผู้นำเสนอผลงานวิจัย จำนวน 11 เรื่อง โดยนักวิจัยจากประเทศไทย นำเสนอ ผลงานวิจัย จำนวน 4 เรื่องนอกจากนั้น นักวิจัยจากประเทศไทย ได้ส่งผลงานวิจัยในรูปแบบ Poster จำนวน 2 เรื่องการประชุม International Scientific Committee of the China-Southeast Asian Countries Marine Cooperation Forum (ISC) จัดขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม 2564 เวลา 14.00–17.00 (UMT+8) ซึ่งจะ 23 พิจารณากรอบการทำงาน รูปแบบการจัดประชุมและเจ้าภาพในการจัดประชุมครั้งต่อไป โดยกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง มอบให้ นางสุรีย์ สตภูมินทร์ และนางสุมนา ขจรวัฒนากุล เป็นผู้แทนใน ISC 

ประชุม

การสำรวจระบบนิเวศทางทะเลและขอบเขตแนวปะการัง ด้วยเครื่องสำรวจสภาพพื้นทะเล (Side scan sonar) บริเวณกองหินใต้น้ำ ที่หินเพลิง จังหวัดระยอง

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล โดยโครงการวิจัยเรื่อง “Tropical Marine Ecosystem Collaborative Study (TiME)” โครงการวิจัยย่อย “Coral reef mapping and bleaching” ร่วมกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ทดสอบเครื่องสำรวจ สภาพพื้นทะเล (Side scan sonar) เพื่อสำรวจระบบนิเวศทางทะเลและขอบเขตแนวปะการัง บริเวณกองหิน ใต้น้ำ ที่หินเพลิง จังหวัดระยอง ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 17 - 22 มกราคม 2565 โดยมีเจ้าหน้าที่จาก ศูนย์วิจัยฯ ต่าง ๆ ภายใต้สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เข้าร่วมสังเกตการณ

กิจกรรม