Marine Endangered Species Research
ผู้รับผิดชอบโครงการ
- Dr. Xuelei ZhangFirst Institute of Oceanography
- Dr. Xianyan WangThird Institute of Oceanography
- นายสุรศักดิ์ ทองสุกดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
Marine Endangered Species Research
โครงการวิจัยดำเนินการโดยความร่วมมือระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย และ First institute of Oceanography (FIO) State Oceanic Administration (SOA) สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีสถานะเป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการ Tropical Marine Ecosystem Collaborative Study (TiME) ระหว่างปี พ.ศ. 2555 - 2558 ก่อนที่จะได้รับการสนับสนุนให้เป็นโครงการหลักในปี พ.ศ. 2559 เมื่อได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจาก China-ASEAN Maritime Cooperation Fund โดยมุ่งเน้นในการเสริมสร้างศักยภาพในการศึกษาสถานภาพสัตว์ทะเลหายาก และแหล่งที่อยู่อาศัย ครอบคลุมกลุ่มประชากรสัตว์ทะเลหายากที่สำคัญในประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาสนับสนุน กิจกรรมภายใต้โครงการ เช่น การศึกษาประชากรโลมาที่เกาะไม้ท่อนโดย UAV การศึกษาโลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลา การศึกษาวาฬบรูด้าในอ่าวไทย การศึกษาพะยูนและโลมาชายฝั่งในจังหวัดตรัง การศึกษาโลมาหลังโหนกในอ่าวขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิเคราะห์พันธุกรรมและการปนเปื้อนของโลหะหนักการอพยพของเต่าทะเล การฝึกอบรมเพื่อช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายาก และการพัฒนาฐานข้อมูลสัตว์ทะเลหายากระดับภูมิภาค เป็นต้น
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาลักษณะทางชีววิทยาและระบบนิเวศของสัตว์ทะเลหายาก โดยใช้เทคโนโลยี
- เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านสัตว์ทะเลหายาก พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก
- การปรับปรุงข้อมูลสถานภาพสัตว์ทะเลหายาก และการประเมินแหล่งที่อยู่อาศัย วิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใกล้สูญพันธุ์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- มีองค์ความรู้ด้านการจัดการสัตว์ทะเลหายากในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียน
- มีแนวทางมาตรฐานการดำเนินงานเกี่ยวกับสัตว์ทะเลหายาก ด้วยการผนวกรวมเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพิ่มเติม และให้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการจัดการพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและศูนย์ช่วยเหลือสำหรับสัตว์ทะเลหายาก
- บุคลากรงานด้านสัตว์ทะเลหายากได้รับการพัฒนาศักยภาพ
- มีความร่วมมือที่ดีของเครือข่ายในการบริหารจัดการสัตว์ทะเลหายาก