ข่าวและกิจกรรม

การประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยี ครั้งที่ 13 และการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ครั้งที่ 12

     กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยี ครั้งที่ 13 และการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 2 - 6 กันยายน พ.ศ. 2567 ในคราวประชุมระหว่างประเทศภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล โดยมีนางสุมนา ขจรวัฒนากุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นประธานร่วมฝ่ายไทย Prof. Fangli Qiao Deputy Director-General, First Institute of Oceanography (FIO) เป็นประธานร่วมฝ่ายจีน ประกอบไปด้วย คณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ฯ ทั้งสองฝ่าย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้รับผิดชอบโครงการวิจัยร่วม มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 90 คน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าในการดำเนินงานของกิจกรรมต่าง ๆ ประจำปี พ.ศ. 2567 และแผนการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2568 ของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล และนำเสนอความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานของโครงการวิจัยร่วม ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล ซึ่งได้มีการระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาแนวทางความร่วมมือในอนาคตต่อไป

ประชุม

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง นิเวศบริการและการใช้ประโยชน์พื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง สำหรับชุมชนท้องถิ่น บริเวณหมู่เกาะมัน จ.ระยอง

     วันที่ 20 สิงหาคม 2567 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก (ศวทอ.) ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง นิเวศบริการและการใช้ประโยชน์พื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง สำหรับชุมชนท้องถิ่น บริเวณหมู่เกาะมัน จ.ระยอง ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลปากน้ำประแส อ.แกลง จ.ระยอง โดยมี นายสุเทพ เจือละออง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก เปิดการประชุม และนายวรรณเกียรติ ทับทิมแสง ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการจัดการทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเล กล่าวถึงความเป็นมาในการจัดการประชุม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 51 คน ประกอบด้วย ผู้แทนประมงพื้นบ้าน ผู้แทนผู้ประกอบการท่องเที่ยว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาลตำบลปากน้ำประแส เทศบาลตำบลเนินฆ้อ และเทศบาลตำบลสุนทรภู่ ผู้แทนหน่วยงานราชการ ได้แก่ กรมประมง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยรายละเอียดการประชุมเป็นการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่สำคัญบริเวณหมู่เกาะมัน จ.ระยอง การดำเนินงานประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการใช้ประโยชน์ในพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง นอกจากนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อร่วมหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืนต่อไป

ประชุม

การประชุมหารือความร่วมมือไทย-จีน ด้านทะเล ระหว่างกรมทรัพยากรธรณีและสถาบันสมุทรศาสตร์แห่งที่สาม ณ เมืองเซี่ยเหมิน สาธารณรัฐประชาชนจีน

    คณะผู้แทนกรมทรัพยากรธรณี (DMR) นำโดยนายนิมิตร ศรคลัง ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีธรณี เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ฯ เข้าร่วมการประชุมหารือโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง ไทย-จีน ด้านทะเล กับคณะผู้แทนสถาบันสมุทรศาสตร์แห่งที่สาม (TIO) และเข้าพบ Prof. Dr. Cai Feng อธิบดีสถาบันสมุทรศาสตร์แห่งที่สาม โดยมี Prof. Dr. Qi Hongshuai เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ฯ ระหว่างวันที่ 28 - 31 กรกฎาคม 2567 ณ เมืองเซี่ยเหมิน สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อหารือความก้าวหน้าของโครงการวิจัยร่วม “Integrated Observation and Evaluation of Tropical Marine Environment” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเทคโนโลยีและการพัฒนา รวมถึงข้อมูลวิชาการด้านเทคโนโลยีการสำรวจธรณีฟิสิกส์ทางทะเล เพื่อประยุกต์ใช้ในการสำรวจธรณีวิทยา เพิ่มขีดความสามารถทางวิชาการ และแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันกิจกรรมหลักของคณะผู้แทนกรมทรัพยากรธรณี1. ศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม1.1 ชายหาดบริเวณ music square ซึ่งประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยวิธีเติมทรายหรือกรวด1.2 พื้นที่ชุ่มน้ำสำหรับโครงการ blue carbon ได้แก่ Xiamen Xiatanwei Mangrove Park1.3 Yundang Wai Lake และ Swan Lake ทะเลสาบน้ำจืดที่พัฒนาตามแนวคิดสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ2. การนำเสนอผลงานวิชาการด้านธรณีวิทยาทางทะเล2.1 คณะผู้แทนกรมทรัพยากรธรณี จำนวน 4 เรื่อง2.2 คณะผู้แทนสถาบันสมุทรศาสตร์แห่งที่สาม จำนวน 4 เรื่อง3. การประชุมหารือ3.1 คณะผู้แทนกรมทรัพยากรธรณีและคณะผู้แทนสถาบันสมุทรศาสตร์แห่งที่สาม ร่วมหารือแนวทางดำเนินงานโครงการวิจัยร่วมฯ ภายใต้แผนย่อย “Coastal morpho-dynamics process responding to ecosystem change”3.2 คณะผู้แทนกรมทรัพยากรธรณีและคณะผู้แทนสถาบันสมุทรศาสตร์แห่งที่สาม ร่วมลงนามในบันทึกการหารือ (Record of Discussion) ภายใต้โครงการวิจัยร่วมฯ ณ ห้องประชุมสถาบันสมุทรศาสตร์แห่งที่สาม เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานร่วมกันในอนาคต

ประชุม

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ฯ จัดประชุมเพื่อหารือแนวทางการจัดเตรียมข้อมูลสนับสนุนแบบจำลองการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมัน ภายใต้โครงการวิจัยร่วมย่อย Application of Ocean Forecasting System for Oil Spill modelling

     ระหว่างวันที่ 25 - 26  มิถุนายน 2567 ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศ และระบบนิเวศทางทะเล จัดประชุมเพื่อหารือแนวทางการจัดเตรียมข้อมูลสนับสนุนแบบจำลองการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมัน ภายใต้โครงการวิจัยร่วมย่อย Application of Ocean Forecasting System for Oil Spill modelling โดย Dr. Chang Zhao จาก First Institute of Oceanography (FIO) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้ประสานงานโครงการฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมหารือกับ ดร. วิลาวัลย์ ธเนศมณีรัตน์ จากกรมควบคุมมลพิษ ผู้ประสานงานโครงการฝ่ายไทย ณ ห้องประชุมอาคารบุญเลิศ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน

ประชุม

เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีน ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล ครั้งที่ 7

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 สถาบันสมุทรศาสตร์ที่หนึ่งเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีน ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล ครั้งที่ 7 (the 7th Joint Committee meeting of Thailand-China Joint Laboratory for Climate and Marine Ecosystem: SCM-11) ณ เมืองเซี่ยเหมิน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีประธานร่วมในงานประชุม ได้แก่  Ms. Chen Danhong Director General ของ the Department of International Cooperation กระทรวงทรัพยากรธรรมาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน และนางชญานันท์ ภักดีจิตต์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย โดยได้รับทราบผลการดำเนินงานการปฏิบัติงานวิจัยภายใต้กรอบความร่วมมือไทย-จีน ด้านทะเล นอกจากนี้ ยังได้รับทราบข้อเสนอโครงการย่อยใหม่ ซึ่งเห็นชอบโดยคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ในการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ครั้งที่ 11

ประชุม

เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ครั้งที่ 11

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 สถาบันสมุทรศาสตร์ที่หนึ่งเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ครั้งที่ 11 (the 11th Steering Committee meeting of Thailand-China Joint Laboratory for Climate and Marine Ecosystem: SCM-11) ณ เมืองเซี่ยเหมิน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีประธานร่วมในงานประชุม ได้แก่ Ms. Yu Xinwei Deputy Division Director ของ the Department of International Cooperation กระทรวงทรัพยากรธรรมาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน และนางสุมนา ขจรวัฒนากุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย การประชุมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานวิจัยภายใต้กรอบความร่วมมือไทย-จีน ด้านทะเล รวมถึงเพื่อพัฒนาความร่วมมือในการดำเนินงานวิจัยด้านทะเลเพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและการดำเนินการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ประชุม

ฉลองครบรอบ 10 ปี ก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน เพื่อสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน เพื่อสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเลร่วมฉลองในวาระครบรอบ 10 ปี ของการก่อตั้งที่โรงแรม Xiamen Tianyuan Grand Hotel เมืองเซียะเหมิน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีประธานร่วม ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย ในระหว่างพิธีการ Mr. Xu Dachun จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน และคุณชญานันท์ ภักดีจิตต์ จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย ได้กล่าวร่วมแสดงความยินดีศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ได้รับการจัดตั้งตามข้อตกลงเรื่องการจัดตั้งโครงการเพื่อดำเนินการปฏิบัติการวิจัยร่วมด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรไทย และทบวงกิจการมหาสมุทร (State Oceanic Administration: SOA) สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555 ณ. กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ฯ เปิดดำเนินงาน เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556 โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน จังหวัดภูเก็ต

ประชุม

การประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ครั้งที่ 10 (SCM-10)

วันที่ 13 กันยายน 2565 กรม ทช. โดยสถาบันวิจัย ทช. เป็นประธานร่วมกับ Prof. Qiao Fangli  จาก First Institute of Oceanography (FIO) สาธารณรัฐประชาชนจีน ในการประชุมระหว่างประเทศ ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล เรื่อง การประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ครั้งที่ 10 (SCM-10) ผ่านการประชุมแบบ Hybrid ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 40 คน ทั้งนี้ เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล รวมถึงเพื่อพัฒนาความร่วมมือในการดำเนินงานวิจัยด้านทะเลของประเทศไทย นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและการดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ประชุม

การประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ครั้งที่ 10

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล จัดประชุมคณะทำงานโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 กรม ทช. โดยรองอธิบดีพรศรี  สุทธนารักษ์ เป็นประธานการประชุม โดยมีคณะผู้บริหารกรม ทช. และคณะทำงาน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม บีบี 206 ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ในที่ประชุมมีวาระเพื่อทราบคำสั่งคณะกรรมการร่วมฝ่ายไทยตามบันทึกความเข้าใจฯ ว่าด้วยความร่วมมือทางด้านทะเล เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล พร้อมทั้งได้สรุปผลการดำเนินงานของโครงการ ความร่วมมือฯ และความก้าวหน้าในการดำเนินงานของโครงการความร่วมมือฯ พร้อมทั้งพิจารณาการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ครั้งที่ 10

ประชุม

การประชุม China-Southeast Asian Countries Marine Cooperation Forum ครั้งที่ 7

การประชุม China-Southeast Asian Countries Marine Cooperation Forum ครั้งที่ 7 จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 26–27 ตุลาคม 2564 ณ เมือง Beihai สาธารณรัฐประชาชนจีน ในรูปแบบ Hybrid โดยการ ประชุมดังกล่าวจัดโดย First Institute of Oceanography และ Fourth Institute of Oceanography, Ministry of Natural Resources, China โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นเจ้าภาพร่วม สาระการ ประชุม ประกอบด้วยOpening ceremony (วันที่ 26 ตุลาคม 2564)กล่าวเปิดการประชุมโดย Dr. Hong Wang รองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน และ ดร. พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวใน ฐานะผู้จัดร่วมPlenary Session (วันที่ 26 ตุลาคม 2564)ประกอบด้วยผู้บรรยายที่ได้รับเชิญ จำนวน 6 ท่าน โดยนางสุมนา ขจรวัฒนากุล ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวบรรยายในหัวข้อ “Challenges in marine and coastal resources management in Thailand”Parallel Session จำนวน 4 สาขา (วันที่ 26–27 ตุลาคม 2564)Ocean and Climate Monitoring, Forecasting and Servicesประกอบด้วยผู้นำเสนอผลงานวิจัย จำนวน 11 เรื่อง โดยนักวิจัยจากประเทศไทย นำเสนอ ผลงานวิจัย จำนวน 2 เรื่องMarine Biodiversity and Ecosystem Protectionประกอบด้วยผู้นำเสนอผลงานวิจัย จำนวน 15 เรื่อง โดยนักวิจัยจากประเทศไทย นำเสนอ ผลงานวิจัย จำนวน 5 เรื่องMarine Geological Process and Disaster Reductionsประกอบด้วยผู้นำเสนอผลงานวิจัย จำนวน 14 เรื่อง โดยนักวิจัยจากประเทศไทย นำเสนอ ผลงานวิจัย จำนวน 1 เรื่อง และนักวิชาการจากกรมทรัพยากรธรณี ได้เข้าร่วมประชุมในสาขานี้Ocean Policy and Ocean Managementประกอบด้วยผู้นำเสนอผลงานวิจัย จำนวน 11 เรื่อง โดยนักวิจัยจากประเทศไทย นำเสนอ ผลงานวิจัย จำนวน 4 เรื่องนอกจากนั้น นักวิจัยจากประเทศไทย ได้ส่งผลงานวิจัยในรูปแบบ Poster จำนวน 2 เรื่องการประชุม International Scientific Committee of the China-Southeast Asian Countries Marine Cooperation Forum (ISC) จัดขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม 2564 เวลา 14.00–17.00 (UMT+8) ซึ่งจะ 23 พิจารณากรอบการทำงาน รูปแบบการจัดประชุมและเจ้าภาพในการจัดประชุมครั้งต่อไป โดยกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง มอบให้ นางสุรีย์ สตภูมินทร์ และนางสุมนา ขจรวัฒนากุล เป็นผู้แทนใน ISC 

ประชุม