News & Activities
Training Workshop on Marine Science Investigation and Observation
Phuket Marine Biological Center (PMBC), Department of Marine and Coastal Resources (DMCR), Thailand, in collaboration with the First Institute of Oceanography (FIO), China, and Thailand-China Joint Laboratory for Climate and Marine Ecosystem successfully completed a training workshop on Marine Science Investigation and Observation" in Phuket, Thailand, during December 16-19, 2025. The workshop was conducted as part of the project titled "Ocean Forecasting and Marine Disaster Mitigation System for the Southeast Asian Seas."The workshop was attended by participants, including researchers from DMCR, FIO, as well as universities including Chulalongkorn University, Kasetsart University, Burapha University (Chanthaburi Campus), and Prince of Songkla University (Phuket Campus). During the workshop, participants received lectures from experts of FIO, Ocean University of China, and Shanghai Jiao Tong University, who shared their knowledge, experiences, and valuable insights.Additionally, practical training was conducted on the preparation of oceanographic survey equipment for deep-sea exploration, enhancing participants' hands-on experience in marine surveys. The knowledge and experience gained from this workshop will significantly contribute to advancing marine research in Thailand.
Jointly deploy buoys for meteorological and oceanographic observations in the Andaman Sea
During December 7-10, 2024, Phuket Marine Biological Center (PMBC), Thailand, First Institute of Oceanography (FIO), China, and Thailand-China Joint Laboratory for Climate and Marine Ecosystem jointly conducted a marine operation using R/V Chakratong Tongyai. The mission involved deploying oceanographic and meteorological buoys in the Andaman Sea with the objective of studying oceanographic and meteorological changes as well as monitoring internal waves. This research was conducted under the Monsoon Onset Monitoring and Its Social and Ecosystem Impact (MOMSEI) project. Additionally, the team collected microplastic samples in the Andaman Sea as well as observing offshore marine debris.
Jointly conduct observations of hypoxia in the upper gulf of Thailand
From November 25 to December 4, 2024, Marine and Coastal Resources Research Center (Upper Gulf of Thailand) in collaboration with Department of Marine Science, Chulalongkorn University, Faculty of Technology and Environment at Prince of Songkla University, Phuket Campus, Thailand, and First Institute of Oceanography (FIO), China, conducted a study on hypoxia in the upper gulf of Thailand with focus on biogeochemical changes in seawater and sediments. This study is a part of a project on the investigation the impacts of human activities and climate change on the loss of dissolved oxygen in coastal waters of the Gulf of Thailand in supports for the Coastal-SOS program under the United Nations Decade of Ocean Science for Sustainable Development (2021-2030), funded by the NRCT (Thailand Science Research and Innovation) and Thailand-China collaboration on Climate and Marine Ecosystem.
Thailand-China Joint Laboratory training for COMMUNITY SERVICES OF MANGROVENSERVATION PROGRAM : MANGROVE CULTIVATION TRAINING
Thailand-China Joint Laboratory for Climate and Marine Ecosystem, in collaboration with the Mangrove Research and Development Institute and the Mangrove Research and Development Center 3, organized a training event to educate 60 students and coastal communities in Phang Nga Province from November 20-21, 2024. The event included lectures, afforestation, waste collection, community exploration, and learning exchanges. This initiative marks the commencement of efforts to promote the conservation of mangrove resources among children and youth.
ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ฯ สนับสนุนงบจัดกิจกรรมโครงการจัดกิจกรรมจิตอาสาทางทะเล (Blue Citizen) เพื่อเฉลิมฉลองวันมหาสมุทรโลก (World Ocean Day) และการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy)
วันที่ 25 มิถุนายน 2567 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก โดยการสนับสนุนงบประมาณจากศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศ และระบบนิเวศทางทะเล ได้จัดกิจกรรมทำความสะอาดชายหาด โครงการจัดกิจกรรมจิตอาสาทางทะเล (Blue Citizen) เพื่อเฉลิมฉลองวันมหาสมุทรโลก (World Ocean Day) และการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy) ณ หาดบานชื่น ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด โดยมี นายสุรศักดิ์ อินทรประเสริฐ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไม้รูดเป็นประธาน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 200 คน ได้แก่ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลไม้รูด เจ้าหน้าที่ศูนย์จัดการพื้นที่คุ้มครองหมู่เกาะมัน จังหวัดระยอง ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลจังหวัดตราด มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วงโสม ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จังหวัดตราด สถานีตำรวจภูธรไม้รูด หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินตราด เครือข่ายภาคประชาชน คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านไม้รูด โรงเรียนบ้านคลองมะนาว โรงเรียนบ้านหนองม่วง และโรงเรียนวัดห้วงโสม ขยะที่เก็บได้ทั้งหมด 310 กิโลกรัม และได้สอนวิธีการคัดแยกขยะ ชั่งน้ำหนัก และจดบันทึกข้อมูลตามแบบฟอร์ม ICC card โดยชนิดขยะที่พบมากบริเวณหาดบานชื่น ได้แก่ เศษถุงพลาสติก แก้วน้ำพลาสติก เศษโฟม และขวดแก้ว นอกจากนี้ได้ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนในพื้นที่ตระหนักถึงผลกระทบของขยะทะเล และทิ้งขยะให้ถูกที่ รวมทั้งคัดแยกขยะก่อนทิ้ง เพื่อลดปริมาณขยะที่จะออกสู่ทะเลต่อไป
ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) ในการสำรวจทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ร่วมกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicel; UAV) ในการสำรวจทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระหว่างวันที่ 29 - 31 มีนาคม 2566 ณ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน จังหวัดภูเก็ต โดยมีนายสุรพงษ์ บรรจงมณี นักวิชาการประมงชำนาญการ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมฯ ในวันที่ 29 มีนาคม 2566 และได้รับเกียรติจาก รศ.ดร. วีระพงศ์ เกิดสิน คณบดีฯ และเจ้าหน้าที่ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เป็นวิทยากรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ฯ ในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยต่าง ๆ ซึ่งจะได้รับการพัฒนาศักยภาพ การใช้อากาศยานไร้คนขับในการสำรวจทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตามภารกิจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งต่อไป
ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศ และระบบนิเวศทางทะเล สำรวจสภาวะพร่องออกซิเจนในน้ำ และเก็บข้อมูลปัจจัยทางสมุทรศาสตร์เคมีธรณีครอบคลุมพื้นที่อ่าวไทยตอนใน
วันที่ 14-21 พฤศจิกายน 2565 ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศ และระบบนิเวศทางทะเล ร่วมกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก และศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ออกสำรวจสภาวะพร่องออกซิเจนในน้ำ และเก็บข้อมูลปัจจัยทางสมุทรศาสตร์เคมีธรณีครอบคลุมพื้นที่อ่าวไทยตอนใน จำนวน 57 สถานี ภายใต้งบประมาณโครงการความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ด้านทะเล โดยเรือสำรวจเกษตรศาสตร์ 1 ของคณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ เพื่อศึกษาการเกิดสภาวะพร่องออกซิเจนในน้ำทะเลพื้นที่อ่าวไทยตอนใน สำหรับเป็นข้อมูลในการติดตามเฝ้าระวัง และหาแนวทางป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
การสำรวจระบบนิเวศทางทะเลและขอบเขตแนวปะการัง ด้วยเครื่องสำรวจสภาพพื้นทะเล (Side scan sonar) บริเวณกองหินใต้น้ำ ที่หินเพลิง จังหวัดระยอง
ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน ด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล โดยโครงการวิจัยเรื่อง “Tropical Marine Ecosystem Collaborative Study (TiME)” โครงการวิจัยย่อย “Coral reef mapping and bleaching” ร่วมกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ทดสอบเครื่องสำรวจ สภาพพื้นทะเล (Side scan sonar) เพื่อสำรวจระบบนิเวศทางทะเลและขอบเขตแนวปะการัง บริเวณกองหิน ใต้น้ำ ที่หินเพลิง จังหวัดระยอง ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 17 - 22 มกราคม 2565 โดยมีเจ้าหน้าที่จาก ศูนย์วิจัยฯ ต่าง ๆ ภายใต้สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เข้าร่วมสังเกตการณ